วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม ่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุ ปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำาบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่ างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สํ าหรับการบริหารจั ดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต

 ที่มา    http://www.thainame.net/weblampang/arpakon/a10.html

                                              

                                                        โครงการฝายแม้ว
ฝายแม้ว คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอ การไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
รูปแบบและลักษณะฝายนั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า “ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้  ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ ”

“.......สำหรับต้นน้ำไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตามสำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก......”
นอกจากนี้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึง ฝายต้นน้ำลำธาร ในรายการ "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน" ทางคลื่น F.M. 92.5 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม         2547 เวลา 08.00 น. ดังนี้

",,,
ฝายแม้ว หรือ เช็คแดม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริตามแบบที่ได้ทรงทำที่ห้วย ฮ่องไคร้ที่เชียงใหม่ ผมก็เลยมอบนโยบายตามแนวพระราชดำรินี้ไปให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหลายว่า เพื่อให้ภูเขาต่างๆ ได้เขียว เพราะไม่งั้นความแห้งแล้งจะได้เกิดขึ้นตลอด เขาก็ไปทำฝายแม้วที่หนองบัวลำภู   ซึ่งผมไปดูมา เขานั้นแห้งแล้งมาก แต่ปรากฏว่าพอฝนเริ่มตกมาก็มีน้ำ ฝายแม้วทั้งหลายก็กักเก็บน้ำได้นิดหน่อยๆ เพื่อให้เกิดความชื้นของภูเขา เพราะเขาลูกหนึ่งมีตั้งพันกว่าเขื่อน ส.ส.มาบอกผมว่าไปตรวจอีกครั้งหนึ่งตอนนี้เริ่มมีลูกอ๊อดแล้ว เต็มไปหมด ก็แสดงให้เห็นว่าธรรมชาตินั้นมันมีของมันอยู่ เมื่อมีความชุ่มชื้น ธรรมชาติกลับคืนมานี่ สิ่งที่มันเป็นสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ มันก็จะเริ่มฟื้นคืนขึ้นมา    และมันเป็นวิถีชีวิต มันเป็นของที่ควบคู่กับชาวบ้าน ผมก็ดีใจว่า สิ่งเหล่านี้ได้ผลรวดเร็วมาก ทุกจังหวัดก็ได้ทำกัน ทีนี้ป่ามันก็จะคืนสภาพได้ต่อมา เหมือนที่ห้วยฮ่องไคร้ซึ่งป่าถูกทำลายทั้งเขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำตามที่ผมเล่าให้ฟังนี่ ก็ปรากฏว่าป่าก็คืนสภาพ ไก่ป่า    ไก่อะไรก็เกิดขึ้นมาเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นอันนี้เราจะต้องฟื้นคืนสภาพ,,,,"
   

ที่มา     http://www.thainame.net/weblampang/arpakon/a3.html
 

โครงการห้วยองคต
พระราชดำริ
"ให้ดำเนินการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และการทำมาหากินของราษฎรควบคู่ไปกับการพัฒนา และฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกทั้ง โดยเน้น การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่"
ความเป็นมา
โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บนเนื้อที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม จำนวน ๒๐,๖๒๕ ไร่ ตำบลสมเด็จเจริญ กิ่งอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และการทำมาหากินของราษฎรควบคู่ไปกับ การพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โดยทรงเน้น การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรได้อยู่อาศัยและทำมาหากินร่วมกับการคงอยู่ ของธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้สนับสนุน โครงการ รวมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ฯลฯ จะใช้พื้นที่ป่าสงวนซึ่งถูกบุกรุกทำลายจนมีสภาพเสื่อมโทรม มาดำเนินการจัดสรรให้แก่ราษฎรผู้ยากจนเข้าไปประกอบอาชีพ ซึ่งได้จัดเป็นแปลงที่ดินให้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยครอบครัวละ ๑ ไร่ ที่ดินทำการเกษตร ครอบครัวละ ๘ ไร่
วัตถุประสงค์
๑. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยการปลูกป่าไม้ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตามเดิม
๒. บริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยการแบ่งแยกพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนทั้งในด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟูสภาพป่า การจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ส่วนกลางในการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น ต่าง ๆ
๓. จัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน พร้อมทั้งจัดระเบียบชุมชนให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัย ในพื้นที่ที่จัดสรรให้อย่างเหมาะสม
๔. ส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้มีรายได้ และสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการบริหารทรัพยากร อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานในส่วนสหกรณ์
ในปี ๒๕๓๕ โครงการได้ดำเนินการจัดให้เกษตรกรเข้าไปอยู่ตามแปลงที่อยู่อาศัย จำนวน ๑๐๐ ครอบครัว ต่อมาปี ๒๕๓๖ จัดให้ราษฎรเข้าอยู่ในแปลง จำนวน ๑๕๐ ครอบครัว และปี ๒๕๓๗ จัดให้ราษฎรเข้าอยู่ในแปลง จำนวน ๒๐๐ ครอบครัว เกษตรกรที่จะเข้าอยู่ในโครงการจะต้องได้รับการอบรมตามหลักสูตรของ โครงการ ซึ่งแบ่งการอบรมเป็นรุ่น ๆ โดยรุ่นแรกเริ่มอบรมในเดือนสิงหาคม ๒๕๓๕ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด กาญจนบุรีได้มอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์อำเภอบ่อพลอย ซึ่งเดิมไม่ได้แยกเป็นกิ่งอำเภอหนองปรือ ได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าไปร่วมอบรมราษฎรที่จะเข้าไปอยู่ในโครงการ จำนวน ๓๐๐ คน รวม ๓ รุ่น เพื่อให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ สหกรณ์
ในปี ๒๕๓๖ ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอหนองปรือ ซึ่งแยกจากอำเภอบ่อพลอย ราษฎรที่เข้าอยู่ใน โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสมเด็จเจริญได้ยื่นคำร้องขอจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร สมเด็จเจริญ จำกัด ขึ้น โดยมีผู้แสดงความจำนงขอจัดตั้งสหกรณ์จำนวน ๖๒ คน ทุนเรือนหุ้น ๒,๘๐๐ บาท นายทะเบียนได้รับจดทะเบียนให้สหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๖ และเห็นชอบให้สหกรณ์ถือใช้วงเงิน กู้ยืมหรือค้ำประกันได้ภายในจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท การดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรสมเด็จเจริญ จำกัด ได้กำหนดปีทางบัญชีสิ้นสุด ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี ในปี ๒๕๓๖-๒๕๓๗ สหกรณ์ได้ดำเนินงานโดยใช้ทุนจากทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ จำนวน ๑๑,๗๙๓ บาท และสินเชื่อทางการค้า สหกรณ์ได้ดำเนินงานโดยจัดหา สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๗๕๖ บาท สิ้นปีสหกรณ์มีกำไรสุทธิ ๑,๔๙๓.๖๕ บาท และในปี ๒๕๓๘ มีกำไรสุทธิ ๒๗๔.๙๓ บาท ส่วนปี ๒๕๓๙ อยู่ระหว่างการปิดบัญชี
สหกรณ์ไม่มีพนักงานและใช้บ้านสมาชิกเป็นสำนักงานชั่วคราว ในปัจจุบันมูลนิธิพัฒนาชนบท (บริษัทซีพี) ได้เข้าดำเนินงานในโครงการซึ่งจะช่วยให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และสหกรณ์สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
แผนการแนะนำส่งเสริมในปีงบประมาณ ๒๕๔๐
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๙ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดกรอบอัตรากำลัง ให้สำนักงานสหกรณ์ กิ่งอำเภอหนองปรือ จำนวน ๒ อัตรา คือ สหกรณ์อำเภอ ระดับ ๖ กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ระดับ ๓ ซึ่งมีแผนในการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรสมเด็จเจริญ จำกัด ในปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ดังนี้
๑. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์แก่เกษตรกรในเขตโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้มีความรู้ความเข้าใจและสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์โดยดำเนินการ ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๔๐ คาดว่าจะรับสมาชิกเพิ่มได้ ๒๐๐ คน
๒. จัดประชุมใหญ่สามัญเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ดำเนินการเดือนมกราคม ๒๕๔๐
๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการดำเนินการ ประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่มดำเนินการเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
ที่มา     http://www.thainame.net/weblampang/arpakon/a7.html

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเปิดภาคเรียนใหม่...แด่เพื่อนๆ

เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว...ขอให้เพื่อนๆมีความสุข
กับภาคเรียนใหม่...ขอให้พบเจอแต่สิ่งดีๆ
และมีแต่เกรด A